หนังสือหนังสือเดินทางฉุกเฉิน (Emergency Passport)

หนังสือหนังสือเดินทางฉุกเฉิน (Emergency Passport)

วันที่นำเข้าข้อมูล 29 ส.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 ส.ค. 2563

| 2,834 view
การยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางฉุกเฉิน (Emergency Passport) เล่มสีเขียว 
 
กรณีที่หนังสือเดินทางหมดอายุหรือสูญหาย แต่มีความจำเป็นต้องเดินทางเป็นการเร่งด่วนโดยไม่อาจรอการออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่ได้ ท่านสามารถติดต่อขอให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ออกหนังสือเดินทางชั่วคราวมีซึ่งมีอายุการใช้งาน 1 ปี โดยหนังสือเดินทางชั่วคราวจะถูกยกเลิกทันทีเมื่อได้รับหนังสือเดินทางฉบับใหม่
 
เอกสารและหลักฐานในการยื่นคำร้อง
  • หนังสือเดินทางเล่มเดิมที่หมดอายุ หรือใบรับแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจโมซัมบิก
  • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง
  • ตั๋วโดยสารหรือหลักฐานการสำรองเที่ยวบิน 
  • หลักฐานการโอนค่าธรรมเนียม 600 เมติกัลโมซัมบิกเข้าบัญชีสถานเอกอัครราชทูต รายละเอียด ดังนี้
(ชื่อบัญชี) Account Name: Royal Thai Embassy
(ชื่อธนาคาร) Bank: BCI 
(เลขที่บัญชี ) CONTA/MZN: 15263832810005
(รหัสการโอนเงิน) IBAN: 000800005263832810583
 
กรณีผู้ยื่นคำร้องเป็นผู้เยาว์ (มีอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์)
บิดาและมารดา หรือ ผู้มีอำนาจปกครองลงนามยินยอมด้านหลังคำร้อง พร้อมหลักฐานเพิ่มเติมที่ต้องแสดงต่อเจ้าหน้าที่ คือ
– หนังสือเดินทางของทั้งบิดาและมารดา 
– ทะเบียนสมรสของบิดามารดา
หากบิดาและมารดาไม่สามารถมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ จะต้องไปลงนามใน “หนังสือมอบอำนาจและให้ความยินยอม”
(สำหรับการทำหนังสือเดินทางให้ผู้เยาว์) ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ Notary Public เพื่อรับรองลายมือชื่อของบิดาและมารดา 
 
ในกรณีที่บิดาและมารดาอยู่ที่ประเทศไทย ทั้งบิดาและมารดาต้องทำ “หนังสือให้ความยินยอม” ให้บุตรทำหนังสือเดินทาง ผ่านกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ หรือผ่านที่ว่าการอำเภอ 
 
กรณีที่บิดามารดาจดทะเบียนหย่าแล้ว ให้ฝ่ายที่มีอำนาจปกครองบุตรเป็นผู้ลงนามในหนังสือยินยอมเพียงฝ่ายเดียว และ จะต้องแสดงหลักฐานทะเบียนหย่า หรือคำสั่งศาลซึ่งระบุว่าเด็กอยู่ในความปกครองของบิดา/มารดาหรือผู้มีอำนาจปกครอง
กรณีบิดาหรือมารดาของผู้เยาว์เสียชีวิต จะต้องแสดงหลักฐานใบมรณบัตร
 
เอกสารเพิ่มเติมตามความจำเป็นแต่ละกรณี 
ใบเปลี่ยนชื่อ/ชื่อสกุล
- กรณีใช้ชื่อ/ชื่อสกุลใหม่ที่ไม่ตรงกับหนังสือเดินทางฉบับเดิมหรือรายการแก้ไขหนังสือเดินทางที่ปรากฏในหนังสือเดินทางฉบับเดิม
- ใบสำคัญการสมรส
– สตรีที่สมรสแล้วขอเปลี่ยนชื่อสกุล
– มารดาที่มีชื่อสกุลไม่ตรงกับสูติบัตรของบุตร
 
ใบสำคัญการหย่า
– สตรีที่ใช้ชื่อสกุลไม่ตรงกับหนังสือเดินทางฉบับเดิมเนื่องจากหย่า
บันทึกการหย่า
– ใช้ประกอบการแสดงอำนาจในการปกครองบุตร
หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร
– กรณีผู้เยาว์ใช้ชื่อสกุลของบิดา โดยที่บิดา/มารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา/มารดา
– ผู้เยาว์ที่บิดา/มารดาเป็นคนต่างด้าว
หากผู้ร้องฯ ไม่สามารถแสดงเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น ขอให้แจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่สามารถแสดงเอกสารดังกล่าวฯ พร้อมทั้งแสดงเอกสารอย่างอื่นที่แสดงความเป็นคนไทย เช่น ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของไทย โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ จะพิจารณาอนุโลมเป็นรายกรณี
 
การยื่นคำร้อง 
ยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ในเวลาทำการ 
 
วิธีกรอกข้อความและลงลายมือชื่อในคำร้อง
กรอกข้อความเป็นภาษาไทย และลงลายมือชื่อในคำร้องให้ครบถ้วนทั้ง 2 หน้า ด้วยปากกาสีดำหรือสีน้ำเงิน
ลงลายมือชื่อในคำร้อง กรณีที่ลงลายมือชื่อไม่ได้ให้ พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือซ้ายด้วยหมึกสีน้ำเงิน แทน
หน้าที่ 1 คำร้องขอออกหนังสือเดินทาง
 
กรอกรายละเอียดในคำร้องให้ถูกต้องและครบถ้วน หากมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดแตกต่างไปจาก ที่ระบุในหนังสือเดินทาง จะต้องดำเนินการขอแก้ไขก่อน
บุคคลใกล้ชิดที่อ้างอิงได้ หมายถึง บุคคลที่อยู่ในประเทศไทย 1 รายและ/หรือที่โมซัมบิก 1 ราย
ลงลายมือชื่อ (เป็นลายเซ็น) ในช่องมุมขวาด้านบนทั้ง 2 ช่อง
ลงลายมือชื่อใต้รูปถ่ายด้านล่าง (หากลงไม่ได้ให้พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือซ้ายแทน)
หน้าที่ 2 สัญญายินยอมชดใช้ค่าเสียหายของผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ
 
กรอกที่อยู่ในต่างประเทศ
กรณีผู้เดินทาง (ผู้ร้องขอออกหนังสือเดินทาง) เป็นผู้เยาว์ (อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์) หรือเป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ หรือ
คนไร้ความสามารถ ต้องให้ผู้มีอำนาจให้ความยินยอมตามกฎหมาย ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในช่อง “ ผู้ให้ความยินยอม” ด้วย
สำหรับผู้เยาว์ ผู้ให้ความยินยอมกรณีทั่วไปได้แก่ บิดาและมารดา

เอกสารประกอบ

แบบคำร้องขอหนังสือเดินทางชั่วคราว.pdf
แบบสอบสวน_กรณีหนังสือเดินทางสูญหาย.pdf