การขอจดทะเบียนสมรส

การขอจดทะเบียนสมรส

วันที่นำเข้าข้อมูล 29 ส.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 25 ต.ค. 2565

| 4,336 view

คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส
    - ชายหรือหญิงมีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์ กรณีมีเหตุอันควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนที่ชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ได้ 
    - ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
    - ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
    - ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
    - ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
    - หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
              * คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
              * สมรสกับคู่สมรสเดิม
              * มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
              * ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
              * มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
    - ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอมได้ตามกฎหมาย

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส
    - บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้สำหรับบุคคลซึ่งไม่ต้องมีบัตรประจำตัวตามกฎหมาย
    - สำเนาทะเบียนบ้าน
    - กรณีชาวต่างชาติ สำเนาหนังสือเดินทางที่ผ่านการรับรองนิติกรณ์เอกสารแล้ว และหลักฐานแสดงการมีถิ่นที่อยู่ในโมซัมบิก (ฺBI หรือ DIRE หรือ VISA)
    - กรณีชาวต่างชาติ หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล 
    

ขั้นตอนในการขอจดทะเบียนสมรส
    - การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
    - คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ สถานเอกอัครราชทูต
    - คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม
    - พยานบุคคลจำนวน 2 คน (ให้เตรียมบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางของพยานมาด้วย)
    - คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานเอกอัครราชทูตหรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด หนังสือรับรองนั้นต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรองการแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ สถานเอกอัครราชทูต

ค่าธรรมเนียม
    ไม่มีค่าธรรมเนียม 

เอกสารประกอบ

คำร้องขอจดทะเบียนสมรส.pdf